ความรู้พื้นฐานช่างซ่อมรถเอารถไปขับแล้วชน ใครต้องรับผิดชอบ?

เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น แต่เจ้าของรถยนต์ไม่ได้เป็นผู้ขับในขณะนั้น ปัญหาที่มักเกิดขึ้นตามมาก็คือ ใครจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ ? ท่านผู้อ่านคงเคยนำรถยนต์เข้าอู่ซ่อมกันมาบ้าง ซึ่งในบางครั้งหลายท่านมักติดต่อให้ช่างนำรถยนต์มาส่งให้ถึงที่ทันทีที่ เสร็จงานซ่อม แต่ถ้าในระหว่างทางที่ช่างซ่อมรถยนต์ขับมาส่งให้เจ้าของแล้วเกิดอุบัติเหตุ โดยที่เป็นฝ่ายผิดเจ้าของรถยนต์คันนั้นจะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่ตนเอง ไม่ได้กระทำด้วยหรือไม่ ? สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะบรรดาเจ้าของรถยนต์ทั้งหลายที่รักความสบาย ตามมาตร 425 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่านายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้าง ได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น

มาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่าผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอัน ผู้รับจ้างได้ก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการ ทำงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้ว่าจ้าง จากตัวอย่างจากคำพิพากษาฎีกาที่ 1176/2510 ช่างซ่อมรถยนต์ไม่ได้เป็นตัวแทน หรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของ รถยนต์เพราะการซ่อมรถยนต์เป็นเพียงสัญญาจ้างทำของ ตามสัญญาจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างตกลงจะทำงานสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยผู้รับ จ้างไม่ได้อยู่ ในความควบคุมบังคับบัญชาของผู้ว่าจ้างแต่ประการใด และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะสั่งงานหรือบงการแก่ได้ ช่างซ่อมรถยนต์เป็นแค่ผู้รับจ้าง จึงไม่ใช่ลูกจ้างของเจ้าของรถยนต์ ตามความหมายในมาตราที่ 425 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การที่ช่างซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างขับรถยนต์คันที่ว่าจ้างให้ ซ่อมไปส่งเจ้าของรถยนต์ แล้วช่างซ่อม รถยนต์ผู้รับจ้างขับไปชนกับจักรยานยนต์ถือเป็นการทำละเมิดของผู้รับจ้าง คือ ช่างซ่อมรถยนต์เอง เจ้าของรถยนต์ไม่ได้นั่งไปในรถยนต์ด้วย จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในการทำละเมิดของผู้รับจ้าง ตามคำพิพากษาฎีกานี้ จะทราบว่าระหว่างเจ้าของรถยนต์กับช่างซ่อมรถยนต์ ไม่ถือเป็นความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเนื่องจากเจ้าของรถยนต์ไม่มีสิทธิที่จะสั่งงาน หรือบงการช่างซ่อมรถยนต์ได้ และในขณะเดียวกัน ช่างซ่อมรถยนต์ก็ไม่ได้อยู่ในความควบคุมหรือในบังคับบัญชาของเจ้าของรถยนต์ ด้วยกรณีนี้จึงไม่เกี่ยวข้องกับมาตรา 425 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด

ดังนั้น ในการว่าจ้างซ่อมรถยนต์มุ่งในผลสำเร็จของการซ่อมรถยนต์ให้ใช้การได้ตามปกติ จึงเข้า ลักษณะของสัญญาจ้างทำของแต่เนื่องจากข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกานี้ อุบัติเหตุได้เกิดขึ้น ขณะช่างซ่อมรถยนต์ขับกลับไปส่งคืนเจ้าของเมื่อซ่อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ถือว่า การนำรถยนต์ส่งคืนให้กับเจ้าของ เป็นการกระทำที่อยู่ในสัญญาจ้างทำของ กรณีนี้จึง ไม่เข้ากับมาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เจ้าของรถยนต์ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง จะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก อีกทั้งเจ้าของรถยนต์ก็ไม่ได้นั่งมาในรถยนต์ด้วย จึงไม่ถือว่าเป็นผู้ควบคุมดูแลยานพาหนะ และไม่ต้องร่วมรับผิดชอบกับช่างซ่อมรถยนต์